- ลูกสูบรถมอเตอร์ไซค์
หากมีการพูดถึง ” ลูกสูบ ” มอเตอร์ไซค์แล้วพลพรรคผู้พิศมัยในความแรง
และเร็วทั้งหลายอาจมีการคิดข้ามขั้นไปถึงการเพิ่มปริมาตรกระบอกสูบหรือ
เรียกกันติดปากว่า”ยัดลูกโต” กันแทบทั้งนั้นเพราะนั่นคือคำตอบสุดท้ายของ
สเต็ปความแรงซึ่งขาซิ่งทั้งหลายต้องทำโดยเฉพาะปัจจุบันเรื่องการเปลี่ยนลูกสูบ
ไปเป็นแบบข้ามรุ่น (ใหญ่กว่าเก่า) นั้นขยายวงออกไปกว้างมากๆ แต่ยังมีอีกมาก
ที่ยังไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วลูกสูบมันมีหน้าที่อะไร มีรูปร่างหน้าตา
แบบไหนวันนี้เราพาทุกท่านมาทำความรู้จักเรื่อง ลูกสูบ มอเตอร์ไซค์ กันเลย…
- ลูกสูบเป็นชิ้นส่วนเคลื่อนที่ซึ่งการเคลื่อนตัวไปมาอยู่ในกระบอกสูบมีหน้าที่
ส่งถ่ายกำลังผ่านก้านสูบไปยังเพลาข้อเหวี่ยง เป็นส่วนหนึ่งของห้องเผาไหม้โดยจะปิดกั้น
ภายในกระบอกสูบกับห้องข้อเหวี่ยงตลอดจนการถ่ายเทความร้อนจากการเผาไหม้ไปยัง
ชิ้นส่วนอื่นๆ รวมทั้งรับแรงเบียดด้านข้าง ( Side Thrust)เนื่องจากก้านสูบเป็นตัวเปลี่ยน
แนวแรงจากการเลื่อนขึ้นลงมาเป็นการหมุนและยังจะทำหน้าที่ขับไล่ไอเสียออกจากห้อง
เผาไหม้ในขณะที่ช่องไอเสียหรือวาล์วไอเสียเปิด
วัสดุที่นิยมใช้ในการผลิตลูกสูบ คือ
• เหล็กหล่อ ( Cast Iron )
• เหล็กผสม ( Steel Alloy )
• อลูมิเนียมผสม ( Cast Aluminium Alloy )
โดยเฉพาะในรถมอเตอร์ไซค์มักเป็นอลูมิเนียมผสม เพราะมีน้ำหนักเบากว่าเหล็กหล่อ
และเหล็กผสมถึง 2-3 เท่า ในขณะเดียวกันก็สามารถระบายความร้อนได้ดีอีกด้วย
การแบ่งลักษณะของตัวลูกสูบ แบ่งออกได้ 3 ส่วน คือ
• ส่วนบน : เซาะเป็นร่อง เรียกว่า “ร่องแหวน ” สำหรับไว้ใส่แหวนลูกสูบ
• ร่องแหวนบนสุด เป็นร่องแหวนอัด ( Compression Ring Groove )
• ร่องแหวนล่างสุด เป็นร่องแหวนน้ำมัน ( Oil Scraper Ring Groove )
ภายในร่องแหวนน้ำมันนี้จะมีรูให้น้ำมันไหลผ่านเข้าและออกขนาดและจำนวน
ร่องจะขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องยนต์ ถ้าเป็นเครื่องยนต์ 2 จังหวะ จะมีเพียง 1 หรือ 2 ร่อง
เท่านั้น แต่หากเป็นเครื่องยนต์ 4 จังหวะ จะเพิ่มเป็น 2 – 3 ร่อง
• ส่วนกลาง : เป็นส่วนที่ยึดติดกับสลักลูกสูบ มีลักษณะนูนและหนาอยู่ภายใน เรียกว่า
” Boss ” หรือ ” Piston Pin Boss ” โดยจะเป็นส่วนที่เพิ่มความแข็งให้กับลูกสูบ
• ส่วนล่าง : ทำหน้าที่ประคองให้ลูกสูบเลื่อนไปมาในกระบอกสูบและรองรับแรงอัดด้านข้าง
ซึ่งถ่ายเทมาจากสลักลูกสูบ ส่วนนี้เรียกว่า ” ชายล่างลูกสูบ ” หรือ ” Skirt “
เนื่องจากตัวลูกสูบจะได้รับความร้อนแตกต่างกันทั้ง 3 ส่วน โดยส่วนบนจะเป็นส่วนที่ใกล้ห้อง
เผาไหม้มากที่สุด จึงเกิดความร้อนสะสมในปริมาณที่มากกว่าส่วนอื่นๆ การขยายตัวของลูกสูบ
จึงเกิดขึ้นไม่เท่ากัน จึงทำให้ระยะเบียดระหว่างลูกสูบกับผนังกระบอกสูบส่วนต่างๆไม่เท่ากัน
ระยะเบียดตอนบนๆจะมีมากกว่าตอนล่างๆ ดังนั้นลูกสูบจึงต้องมีลักษณะเรียว ( Tapered )
และลูกสูบทำงานเกิดการขยายตัว ระยะเบียดตอนบนก็จะใกล้เคียงกับตัวล่าง ซึ่งระยะเบียด
จะแปรผันไปตามสัดส่วนของเครื่องยนต์และขยาดของลูกสูบส่วน “ หัวลูกสูบ ” จะมีทั้งแบบ
เว้าแบบเรียบ แบบนูน ฯลฯ แล้วแต่การออกแบบ ส่วนบนของลูกสูบนี้จะรับแรงกดเนื่องมาจาก
การเผาไหม้ไอดีในกระบอกสูบในปริมาณค่อนข้างมาก ซึ่งลักษณะที่แตกต่างกันนี้เพื่อผล
ประโยชน์ในการเผาไหม้ให้สมบูรณ์มากที่สุด ส่วนถ้าต้องการเพิ่มกำลังอัดจะใช้การ “พอก”
หัวลูกสูบให้นูน การทำแบบนี้จะเกิดความร้อนสูงมาก และมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความเสียหาย
กับลูกสูบและส่วนต่างๆ แต่ถ้าต้องการลดกำลังอัดนอกเหนือจากการเสริมปะเก็นฝาสูบแล้วอาจ
ใช้วิธี “ขุด”หรือเซาะร่องลูกสูบก็ได้เหมาะกับรถแข่งระยะทางไกลๆ ความร้อนสะสมไม่เยอะ
ขนาดของลูกสูบแต่ละรุ่น