ประวัติระบบหัวฉีด PGM – FI

ประวัติความเป็นมาของระบบหัวฉีด PGM – FI

PGM – FI ย่อมาจากคำว่า Programmed Fuel Injection คือ การใช้ระบบ

อิเล็คโทคนิคส์เข้ามาควมคุมการฉีดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีปริมาณที่เหมาะสม

กับการทำงานของเครื่องยนต์ให้สภาวะต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เครื่องยนต์

ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพปริมาณไอเสียต่ำ ประหยัดน้ำมันและให้สมรรถนะ

การขับขี่ที่ดีขึ้น

การจ่ายน้ำมันระบบหัวฉีด PGM-Fi ( Program Fuel injection )

เทคโนโลยีระบบจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีด PGM-FI ( Program Fuel injection )

ในประเทศไทยผลิตขึ้นโดยโรงงานผลิต 2 แห่งด้วยกัน คือ

1.บริษัท เคฮิน ออโต้ พาร์ท (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

2.บริษัท เคฮิน (ไทยแลนด์) จำกัด ที่ตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน

บริษัท เคฮิน ออโต้ พาร์ท (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์สำคัญในระบบ

PGM-FI ได้แก่ อุปกรณ์สั่งการและควบคุมการทำงานเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นสมองกลอัจฉริยะ

หรือ ECU (Engine Control Unit)

บริษัท เคฮิน (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์สำคัญอื่นๆ ประกอบด้วย

เรือนลิ้นเร่ง (Throttle Body) ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Pump) และ หัวฉีด (Injector) 

การติดตั้งระบบหัวฉีด PGM-Fi แบ่งได้เป็น

ยุคที่ 1 ในประเทศไทยติดตั้งในรถจักรยานยนต์  Honda  Wave 125i  

วางจำหน่ายเมื่อปี 2546

ยุคที่ 2 ในประเทศไทยติดตั้งในรถจักรยานยนต์ Honda  Wave 125i 

รุ่นที่ 2 วางจำหน่ายเมื่อปี 2548

ยุคที่ 3 ในประเทศไทย ติดตั้งในรถจักรยานยนต์ Honda  CZ-i

และ Click-i วางจำหน่ายเมื่อปี 2551

จุดเด่นของ PGM-FI ยุคที่ 3 ขนาดที่มีความกะทัดรัด ให้ประสิทธิภาพสูง

ความประหยัด ความสะอาดตลอดจนสมรรถนะและที่สำคัญได้รับการผลิตเพียง

แห่งเดียวที่ประเทศไทยเท่านั้น พร้อมนำส่งออกไปติดตั้งแพร่หลายในรถจักรยานยนต์

ฮอนด้าทั่วโลก

รุ่น CZ-i ขนาด 110 ซีซี แบบ 4 จังหวะ

ส่งผลให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพสูง เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องยนต์รุ่นก่อนหน้านี้

ที่มีขนาด 100 ซีซีแบบ 4 จังหวะมีประสิทธิภาพโดดเด่นเหนือกว่าคือ ประหยัดน้ำมัน

มากขึ้น 18%  (ทดสอบตามมาตรฐาน ECE 40 MODE) รวมถึงให้สมรรถนะสูงด้วย

อัตราเร่งที่มากขึ้น 25%

รุ่น Click-i ขนาด 110 ซีซี แบบ 4 จังหวะ รถ A.T. ระบบสายพาน

มีผลทำให้สมรรถนะสูง ตอบสนองเต็มกำลัง 110 ซีซี ด้วยอัตราเร่งที่มากขึ้น

ประหยัดน้ำมันมากกว่าฮอนด้า Click รุ่นเดิมถึง 16%

(ทดสอบตามมาตรฐาน ECE 40 mode)

****** วิธีการทดสอบตามมาตรฐาน ECE 40 mode ******

การทดสอบอัตราการประหยัดน้ำมันตามค่ามาตราฐาน ECE 40 Mode

ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมการเดินคันเร่งเพื่อให้เกิดความเที่ยงตรง

โดยคอมพิวเตอร์จะสั่งให้ทำการทดสอบหมุนวนแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนถึงระยะ

ทางที่ได้มีการกำหนดไว้ ซึ่งวิ่งอยู่กับที่บนเครื่องไดนาโมมิเตอร์เทสต์ หรือ

ไดโนฯเทสต์มีรูปแบบการทดสอบที่ใกล้เคียงกับลักษณะการวิ่งใช้งานจริง

บนท้องถนนของผู้ขับขี่คนไทยทั่วไปใช้อัตราความเร็วไม่คงที่..เฉลี่ย 18.4 กม.ต่อชม.

และใช้ความเร็วสูงสุดในการทดสอบที่ 50 กม.ต่อชม.

รูปแบบการทดสอบ

ทดสอบโดยเร่งจาก 0 ถึง 16 กม./ชม.ที่เวลา 10 วินาที จับความเร็วคงที่ 10 วินาที แล้วยกคันเร่ง

ต่อด้วยการเร่งจาก 0 ถึง 32 กม./ชม.ที่เวลา 20 วินาที จับความเร็วคงที่ 20 วินาที แล้วยกคันเร่ง

จากนั้นให้เร่งจาก 0 ถึง 50 กม./ชม.ที่เวลา 20 วินาที จับความเร็วคงที่ 10 วินาที แล้วยกคันเร่ง

เมื่อความเร็วตกลงมาถึง 35 กม./ชม.ให้เดินคันเร่ง  ความเร็วคงที่ 10 วินาที แล้วยกคันเร่ง

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก http://www.jrmotor.com/

 

 

รับข้อมูลรถเข้าใหม่ทุกวัน
พร้อมโปรโมชั่นโดนๆ
กดยืนยันการสมัครที่ Email ของท่านด้วย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งาน โดยใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์การใช้งานเว็บไซต์ เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ และปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้